วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โทรทัศน์





โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี)


ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง
ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

ประเภทอื่น

ประเภทของเครื่องรับโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัดให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่งอาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์
ชื่อขนาดอัตราส่วนอักษรย่อ
โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ320 × 2404 : 3LDTV (240p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน640 × 4804 : 3SDTV (480p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน (ภาพกว้าง)1024 × 57616 : 9EDTV (576i)
โทรทัศน์ความละเอียดสูง (ภาพกว้าง)1920 × 108016 : 9HDTV (1080i)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก (ภาพกว้าง)2560 × 144016 : 9EHDTV (1440i)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่ง (4k) (ภาพกว้าง)3840 × 216016 : 9QHDTV (2160p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด (8k) (ภาพกว้าง)7680 × 432016 : 9UHDTV (4320p)
  • โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ จะใช้ส่งเฉพาะในโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก จะไม่มีการใช้ โดยในอนาคตจะข้ามไปใช้โทรทัศน์ 4k แทนและมักเป็นความละเอียดสำหรับสื่อบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
  • โทรทัศน์ 4k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2012 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล
  • โทรทัศน์ 8k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

การจัดเวลาออกอากาศ

ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขตหลัก กับอีก 4 เขตย่อยและจะนับทางซ้ายสุดของประเทศเป็นเขตที่ 1 ตามมาด้วยจนถึงด้านขวาสุดเป็นเขตที่ 4 โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่ 2 เขตตรงกลาง คือ เขตที่ 2 และ 3 ของประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ชมจะต้องบวกลบเวลากันเอาเอง ซึ่งรายการได้ฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะแจ้งเวลาดังนี้
8/7 Central หมายถึง 16:00 (4 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 1 ของประเทศ (Hawaii Time)
8/7 Central หมายถึง 17:00 (5 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 2 ของประเทศ (Alaska Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 18:00 (6 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 1 ของประเทศ (Pacific Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 19:00 (7 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 2 ของประเทศ (Mountain Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 20:00 (8 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 3 ของประเทศ (Central Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 21:00 (9 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 4 ของประเทศ (Eastern Time)
8/7 Central หมายถึง 22:00 (10 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 3 ของประเทศ (Atlantic Time)
8/7 Central หมายถึง 22:30 (10:30 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 4 ของประเทศ (Newfoundland Time)
เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 8/7 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 18:00 (6 pm) นาฬิกา (เขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่ซึ่งผนวกเวลาในส่วนของ Atlantic Time กับ Newfoundland Time เข้าไปไว้กับ Eastern Time และไม่นับรวม Hawaii Time กับ Alaska Time ที่จะห่างออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้บางเขตไม่เหมาะสมและตรงกับในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นอีกครึ่งประเทศทางด้านซ้าย 2 ส่วนโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทางด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการตารางโดย Affiliate หรือสถานีย่อยเพื่อความเหมาะสม




----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----

โทรศัพท์



โทรศัพท์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารทางไกลด้วยเสียง อาจหมายถึง


โทรศัพท์ระบบหมุนหมายเลข
เครื่องโทรศัพท์ (อังกฤษ: Telephone) เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง เครื่องโทรศัพท์จะแปลงเสียง, โดยทั่วไปเป็นเสียงมนุษย์, ให้เป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสำหรับการส่งผ่านทางสายเคเบิลหรือผ่านสื่ออื่น ๆในระยะทางไกล, และ เมื่อถึงผู้รับปลายทาง จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถเข้าใจได้ คำว่าโทรศัพท์ได้รับการดัดแปลงเป็นคำศัพท์หลายภาษา มันมาจากกรีก: τῆλε ,Tele แปลว่าไกล และ φωνή , แปลว่าเสียง เมื่อรวมกัน หมายถึงเสียงที่อยู่ห่างไกล สำหรับระบบโทรศัพท์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนั้น ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Telephony
จดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1876 โดย อเล็กซานเดอร์ แกรฮ์ม เบลล์ และพัฒนาต่อ โดยคนอื่นๆมากมาย เครื่องโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ตัวแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้คนได้ใช้ในการพูดคุยกันโดยตรงในระยะทางที่อยู่ห่างกัน ระบบโทรศัพท์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างรวดเร็วสำหรับธุรกิจ, รัฐบาลและ ผู้ประกอบการ และในปัจจุบัน เครื่องโทรศัพท์เป็นบางส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย


องค์ประกอบของเครื่องโทรศัพท์

องค์ประกอบที่สำคัญของเครื่องโทรศัพท์(หรือบางครั้งเรียกว่า telephone set)ได้แก่ handset และแท่นวาง (แต่เดิมแยกออกจากกัน แต่บางครั้งวางประกอบอยู่ด้วยกัน). handset ประกอบด้วยไมโครโฟน(ตัวส่ง)เพื่อพูดเข้าและหูฟัง(ตัวรับ)ที่จะทำเสียงของคนที่อยู่ไกลออกไปขึนมาใหม่ นอกจากนี้ เครื่องโทรศัพท์ส่วนใหญ่มีกระดิ่ง(ringer)ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเมื่อมีโทรศัพท์เรียกเข้ามาและแป้นหมุนที่ใช้ในการป้อนหมายเลขโทรศัพท์เมื่อต้องการจะโทรออก ในราวทศตวรรษที่ 1970 เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้หน้าปัดแบบหมุนส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยหน้าปัดแบบกดปุ่ม Touch-Tone ที่ทันสมัย ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกโดย AT & T ในปี 1963. เครื่องรับและเครื่องส่งสัญญาณมักจะถูกสร้างบน handset เดียวกัน ซึ่งจะถูกยกขึ้นทาบกับปากและหูของผู้ใช้ในระหว่างการสนทนา แป้นหมุนอาจจะอยู่ได้ทั้งบน handset หรือบนแท่นวางที่ต่อกับตัว handset ด้วยสายไฟสั้นๆ(cord) เครื่องส่งสัญญาณจะแปลงคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะถูกส่งผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ปลายทาง เครื่องรับโทรศัพท์ปลายทางจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงออกทางลำโพง ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ทั้งสองด้านสามารถพูดคุยกันได้พร้อมกัน
แม้ว่าเดิมจะถูกออกแบบมาสำหรับการสื่อสารด้วยเสียงที่เรียบง่าย เครื่องโทรศัพท์สมัยใหม่มีความสามารถอีกมากมายเช่น บันทึกข้อความเป็นคำพูด, ส่งและรับข้อความ, ถ่ายรูปและแสดง รูปถ่ายหรือวิดีโอ, เล่นเพลงและท่องอินเทอร์เน็ต แนวโน้มปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์จะเป็นที่รวมของทุกการสื่อสารเคลื่อนที่และความการใช้ในการคำนวณ เครื่องโทรศัพท์เหล่านี้เรียกว่าสมาร์ทโฟน

หลักการทำงานพื้นฐาน



แผนผังของการติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน(landline)
ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมใช้ landline หรือที่เรียกกันว่า "บริการโทรศัพท์ธรรมดาเก่า" (อังกฤษ: plain old telephone service) หรือ POTS ปกติจะขนส่งทั้งสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงบน คู่สายบิด(สายไฟหุ้มฉนวนสองเส้นบิดเป็นเกรียว)เดียวกัน (C ในรูป) เรียกสายนี้ว่า สายโทรศัพท์
เครื่องโทรศัพท์พื้นฐานมี switchhook (A4 ) และอุปกรณ์แจ้งเตือน, ปกติจะเป็น ringer (A7), ที่ยังคงเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ตลอดเวลาที่ handset วางอยู่บนแท่นหรือวางหู หรือ "on hook" (กล่าวคือ สวิทช์ (A4) จะ open) และ ส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหลือจะมีการเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์เมื่อยกหู หรือ "off hook" (สวิทช์ (A4) จะ close) ส่วนประกอบที่ทำงานตอน off hook ประกอบด้วย เครื่องส่งสัญญาณ(ไมโครโฟน, A2), เครื่องรับ (ลำโพง, A1), และวงจรอื่นๆสำหรับการโทรออก, ตัวกรองและตัวขยายเสียง (A3)
อุปกร่ณ์ส่งสัญญาณ หรือ ringer, รูปซ้ายประกอบด้วยกระดิ่ง (A7) หรือ beeper หรือ หลอดไฟอื่น ๆ (A7) เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ให้รู้ว่ามีสายเรียกเข้า และปุ่มตัวเลขหรือหน้าปัดแบบหมุน (A4) เพื่อป้อนหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการโทรออก ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริการโทรศัพท์ landline คือสายไฟ ดังนั้นโทรศัพท์จึงส่งเสียงทั้งขาเข้าและขาออกโดยใช้สายไฟคู่บิดเดียวกัน สายคู่บิดจะมีจำนวนรอบการบิดต่อระยะความยาวจำนวนหนึ่งที่จะหักล้างการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้า (อังกฤษ: electromagnetic interference) หรือ EMI และ crosstalk ได้ดีกว่าสายเดียวหรือคู่สายที่ไม่บิด สัญญาณเสียงขาออกจากไมโครโฟนที่แข็งแรงไม่ได้เอาชนะสัญญาณ ลำโพงที่เข้ามากับ sidetone ที่มีความแรงน้อยกว่าเพราะขดลวดไฮบริด (A3) ตัดลบสัญญาณ ของไมโครโฟนออกจากสัญญาณที่ส่งไปยังลำโพง กล่องแยก(B)ป้องกันฟ้าผ่าด้วย lightning arrester (B2) และตัวปรับความต้านทานของสาย(B1)เพื่อเติมเต็มสัญญาณไฟฟ้าสำหรับความยาวของสายโทรศัพท์, B1 ทำการการปรับเปลี่ยนที่คล้ายกันกับ A8 สำหรับความยาวสายภายใน. แรงดันไฟฟ้าที่สายเป็นลบเมื่อเทียบกับดิน เพื่อลดการกัดกร่อนแบบ galvanic corrosion เพราะไฟฟ้าแรงดันลบจะดึงดูดไอออนบวกของโลหะเข้ามาที่สายไฟ
เครื่องโทรศัพท์แบบ landline เชื่อมต่อด้วยสายไฟหนึ่งคู่เข้าโครงข่ายโทรศัพท์ ในขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถพกพาและติดต่อสื่อสารกับโครงข่ายโทรศัพท์โดยการส่งสัญญาณวิทยุ. โทรศัพท์แบบ cordless ใช้ handset แบบพกพาที่ติดต่อสื่อสารโดยการส่งวิทยุกับสถานีฐาน แล้วสถานีฐานจะติดต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ด้วยสายอีกที




----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----

ตู้เย็น





ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร
ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน
ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน

ประวัติ

ก่อนการประดิษฐ์ตู้เย็นประเทศในเขตหนาวได้มีการตัดน้ำแข็งก้อนใหญ่จากทะเลสาบในฤดูหนาวมาเก็บในขี้เลื่อยไว้ใช้ตลอดปี ในประเทศไทยคนส่วนมากเก็บอาหารไว้ในตู้กับข้าวซึ่งป้องกันแมลงและหนูมารบกวนเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการเน่าเสีย คนไทยมีวิธีอื่น ๆ อีกมากเพื่อถนอมอาหาร เช่น หมัก ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง รมควัน นอกจากนี้คนไทยยังเก็บน้ำฝนไว้ในโอ่งดินซึ่งทำให้น้ำเย็นตามธรรมชาติ

ในศตวรรษที่ 11 มุสลิมนักฟิสิกส์และเคมีชาวเปอร์เซีย, อวิเซ็นน่า หรือ อิบนูซีนา (Ibn Sina หรือ Avicenna) ประดิษฐ์เครื่องควบแน่น (refrigerated coil) เพื่อใช้ในการกลั่นน้ำมันหอม นี่เป็นการพัฒนาการกลั่น โดยอวิเซ็นน่าเป็นคนแรกที่ใช้การกลั่นด้วยไอน้ำ ซึ่งต้องใช้เครื่องควบแน่นในการทำให้ไอกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในระยะทางสั้นเพื่อผลิตน้ำมันหอม กระบวนการกลั่นนี้ได้ใช้มาถึงปัจจุบัน โดยในประเทศไทยได้ใช้ในการผลิตน้ำมันหอมระเหย
วิลเลียม คัลเลน (William Cullen) ประดิษฐ์ตู้เย็นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว (University of Glasgow) ในปี 1748 หลังจากนั้นในปี 1805 เมื่อโอลิเวอร์ อีวาน (Oliver Evans) ได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ใช้ไอทำความเย็น ต่อมาในปี 1902 วิลลิส ฮาวิแลนด์ คาริเออร์ (Willis Haviland Carrier) ได้ประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศ ในปี 1850 ถึง ปี 1851, ดร. จอห์น โกรี (John Gorrie) ประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็ง ในปี 1857 เจมส์ แฮริสัน (James Harrison) วิศวกรชาวออสเตรเลียได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ทำความเย็นด้วยการอัดไอเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อแช่แข็ง ต่อมาเฟอร์ดินานด์ คารี่ (Ferdinand Carré) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาระบบให้ซับซ้อนในปี 1859 โดยใช้แก๊สแอมโมเนียซี่งระเหยเร็วเป็นตัวระบายความร้อนแทนอากาศ

การออกแบบ

ตู้เย็นทำความเย็นโดยปั๊มความร้อนในการทำความเย็น โดยในแต่ละรอบของการทำความเย็น สารทำความเย็นเช่น R134a เข้าไปในเครื่องอัดความดันหรือที่เรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์ (compressor) ที่มีความดันต่ำอุณหภูมิที่จุดเดือด แล้วอัดไอนั้น พออัดจนมีความดันสูงไอก็จะร้อน (สังเกตจากเวลาสูบลมจักรยาน) ไอร้อนความดันสูงเข้าไปในเครื่องควบแน่น (condenser) แล้วออกมาเป็นของเหลวความดันสูงที่จุดเดือด หลังจากนั้นก็ไปที่แผงระบายความร้อน สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวอุณหภูมิเย็นลงแล้วไหลไปที่ใกล้กับส่วนที่ต้องการให้เย็น ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นก๊าซอุณหภูมิต่ำ (เหมือนเวลาปล่อยลมออกจากล้อจักรยาน แล้วก็ไหลไปเป็นวงจรเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีในการทำความเย็น

คุณภาพของตู้เย็น

ตู้เย็นรุ่นใหม่ราคาแพงส่วนมากมักมีคุณสมบัติต่อไปนี้
  • ไม่มีน้ำแข็งเกาะตามตู้ในช่องแช่แข็ง
  • เตือนเมื่อไฟตกหรือไฟดับ
  • มีที่กดน้ำและน้ำแข็งจากหน้าตู้โดยไม่ต้องเปิดประตู
  • มีไฟบอกเมื่อต้องเปลี่ยนที่กรองน้ำ
  • มีถาดทำน้ำแข็งอยู่ภายใน
ตู้เย็นรุ่นแรก ๆ จะมีน้ำแข็งเกาะตามตู้ของช่องแช่แข็ง เกิดจากความชื้นตอนเปิดประตูตู้ โดยน้ำแข็งจะหนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องละลายน้ำแข็งเอง เช่น ถอดปลั๊กออกจนกว่าน้ำแข็งข้าง ๆ ตู้จะละลายหมด ต่อมา จึงพัฒนาเป็นแบบกดปุ่มละลายน้ำแข็ง และละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็งเพื่อประหยัดไฟ
ในปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แก๊สฟรีออน (freon) โดยมีส่วนของซีเอฟซี (chlorofluorocarbons, CFCs) ที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ ตู้เย็นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ใช้แก๊สฟรีออนซึ่งมักรั่วออกสู่บรรยากาศ (สังเกตง่าย ๆ ได้จากการที่ต้องเติมน้ำยาทำความเย็นของตู้เย็น หรือน้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศ) ตู้เย็นรุ่นใหม่มักใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนของซีเอฟซี เช่น HFC-134a (1,2,2,2-tetrafluoroethane) ซึ่งไม่ทำลายชั้นโอโซน

ประสิทธิภาพของตู้เย็น

ตู้เย็นที่กินไฟมากสุดคือแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะต้องมีตัวเป่าความชื้นออกจากใบของพัดลมในตู้เย็น และยังต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิเป็นพัก ๆ แบบที่รองลงมาได้แก่แบบไม่มีระบบละลายน้ำแข็งเลย แต่ว่าน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นก็ทำให้กินไฟมากขึ้น ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็ง และแบบที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็งกินไฟที่สุด แต่ผู้ใช้มักไม่ซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเนื่องจากมีราคาแพง
ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมาก (เกือบจะมากที่สุด รองจากเครื่องปรับอากาศ) ในช่วงยี่สิบปีมานี้มีการแข่งขันของผู้ผลิตในการพัฒนาตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น ตู้เย็นที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันกินไฟประมาณ 1 ยูนิต (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ต่อวันสำหรับตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่อาจกินไฟถึง 4 ยูนิตต่อวัน
ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่บนกินไฟน้อยกว่าแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ล่างและมีความจุเท่ากัน โดยแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ข้าง ๆ กินไฟมากที่สุด  นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ผลิตตู้เย็นตามแบบของไอสไตน์ ที่ประดิษฐ์ครั้งแรกในปี 1930 โดยตู้เย็นนี้ไม่ใช้ไฟฟ้า และไม่มีส่วนของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ
ตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพมากสุดตามทฤษฎีคือตู้เย็นคาร์โนต์ซึ่งไม่สามารถผลิตได้จริง

ผลต่อชีวิตประจำวัน

ตู้เย็นสามารถถนอมอาหารให้สดใหม่ได้นาน ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่สามารถซื้ออาหารมาเก็บไว้ได้ทีละมาก ๆ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การสร้างห้างสรรพสินค้าซึ่งมีอาหารหลากหลายชนิด ส่งผลให้โภชนาการของประชาชนทั่วไปดีขึ้น การขาดสารอาหารลดลง ผลิตภัณท์นม เนื้อสัตว์ ปลา เป็ดไก่ ผัก และอาหารทะเลสามารถเก็บในตู้เย็นที่อยู่ในห้องครัวได้ (ควรเก็บเนื้อดิบ ๆ แยกต่างหากเพื่อความสะอาด)
ผู้คนสามารถรับประทานอาหารที่หลากหลายในมื้อเดียว เช่น สลัดผัก นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มาจากหลายที่ เช่น ภาคอีสานสามารถรับประทานอาหารทะเลเพื่อป้องกันโรคคอพอก การส่งออกอาหารแช่แข็งก็เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้มากมาย

ระบบช่องเก็บอาหารตู้เย็น

ตู้เย็นส่วนใหญ่แบ่งเป็นหลายส่วนเพื่อเก็บอาหารดังนี้
ปุ่มปรับความเย็นของตู้เย็นมักเป็นตัวเลข (เช่น 1 ถึง 9 จากเย็นน้อยไปเย็นสุด) โดยต่างกันไปแล้วแต่ผู้ผลิต แต่มักอยู่ในช่วง 2 ถึง 8 °C (36 ถึง 46 °F) และอุณหภูมิประมาณ -18 °C (0 °F) ในช่องแช่แข็ง
ผู้ใช้ควรวางตู้เย็นไว้ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทเพื่อให้ตู้เย็นทำงานสะดวกและลดการกินไฟ
  • ไม่ควรวางตู้เย็นใกล้ผนังเกินไป เพราะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี
  • ไม่ควรวางตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำเย็นไว้ในห้องปรับอากาศ เพราะทำให้เสียค่าไฟสองต่อ โดยตู้เย็นดูดความร้อนเป่าออกมาหลังเครื่องทำให้ห้องร้อนขึ้น]]

ขนาด

ขนาดของตู้เย็นวัดเป็นลิตรหรือคิว (คำว่าคิวมาจาก cubic foot/feet หมายถึงลูกบาศก์ฟุต) เช่น 100 ลิตร (3.53 คิว) เป็นช่องแช่แข็งกับ 140 ลิตร (4.94 คิว) สำหรับช่องธรรมดา
ตู้เย็นมีหลายขนาด แบ่งตามการใช้งาน เช่น ขนาดเป็นห้องใหญ่ ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม จนถึง 2-3 คิวที่ใช้ในบ้านเรือน
ประเภทของตู้เย็นโดยแบ่งตามลักษณะทางกายภาพ แบ่งใน 4 แบบ คือ
1.แบบ traditional : เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด ช่องแช่แข็งอยู่ด้านบน ส่วนแช่เย็นปกติอยู่ด้านล่าง มีทั้งแบบที่2ประตูที่ช่อแช่แข็งแยกไว้ชัดเจน และแบบประตูเดียวที่มีช่องแช่แข็งอยู่ภายในอีกที ซึ่งขนาดช่องแช่แข็งจะค่อนข้างเล็กกว่าแบบ2ประตู
2.แบบ side-by-side : ประตูเปิดได้2บานแบบแบ่งซ้าน-ขวา เหมือนตู้เสื้อผ้า โดยส่วนช่องแช่แข็งจะอยู่ในประตูบานซ้ายซึ่งมีขนาดเล็กกว่าประตูบานขวาซึ่งเป็นส่วนแช่เย็นปกติ บริษัทแรกที่แนะนำตู้เย็นแบบนี้สู่สาธารณชนคือบริษัทของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ อมานา (Amana) ในปี ค.ศ.1949 แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งปีค.ศ.1965
3.แบบส่วนแช่เย็นอยู่ด้านบน ช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง : ตู้เย็นแบบนี้ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยแนวความคิดของการออกแบบตู้เย็นลักษณะนี้น่าจะมาจากเหตุผลที่ว่า คนเราเปิดใช้ส่วนแช่เย็นบ่อยกว่าช่องแช่แข็ง จึงย้ายช่องแช่แข็งไปไว้ล่างสุด เพื่อที่เวลาเปิดหาของในช่องแช่เย็น จะได้ไม่ต้องก้มตัวให้มากนัก
4.ตู้เย็นแบบประตูฝรั่งเศส (French-door style) : ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงปลายยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง ส่วนแช่เย็นปกติในด้านบนจะเป็นประตูเปิดได้แบบ 2 ทางแบบ side-by-size แต่ขนาดประตูจะเท่ากัน

หลักการทำความเย็น

การทำความเย็นเป็นการถ่ายเทความร้อนภายในตู้เย็นออกไป ซึ่งเกิดจากเครื่องอัดไอ (compressor) ทำหน้าที่อัดแก๊สของสารทำความเย็น (Refrigerant substant) ให้เป็นของเหลวในคอยล์ร้อนหรือเครื่องควบแน่น(Conderser) จากนั้นส่งผ่านไปยังหลอดรูเล็ก (Capillary tube) และไปยังคอยล์ร้อนหรือเครื่องระเหย (evaporator) ทำให้ความดันของของเหลวลดลงจนเปลี่ยนสถานะจากแก็สกลายเป็นไอ ซึ่งของเหลวได้รับความร้อนแฝงจากวัตถุต่างๆที่อยู่ใกล้เครื่องระเหย โดยวิธี การนำความร้อน การพาความร้อน  หรือการแผ่รังสี เพื่อทำให้อุณหภูมภายในตู้เย็นเย็นลง จากนั้นแก๊สความดันต่ำของสารทำความเย็นจะถูกดูดโดยเครื่องอัดไอและอัดออกไปยังเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายเทความร้อนออกไปจากระบบ ทำให้สารทำความเย็นจะเข้าไปรับความร้อนที่เครื่องระเหยใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความเย็นจากสารทำความเย็นที่ดูดกลับมาบางส่วนสามารถนำมาช่วยในการระบายความร้อนให้กับเครื่องอัดไอ(compressor)การทำงานของระบบทำความเย็นนี้จะวนซ้ำไปเรื่อยเสมอ




----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----

พัดลม






พัดลมเพดาน (อังกฤษ: ceiling fan) คือพัดลมชนิดที่ติดตั้งแขวนในแนวดิ่งลงมาจากฝ้าเพดาน มีลักษณะเฉพาะที่จะมีใบพัดแบนยาวขนาดใหญ่ติดตั้งเป็นรูปแฉก ยึดกับแกนหมุนที่อยู่ตรงกลาง (ในบางแบบ แกนหมุนนั้นคือตัวมอเตอร์เอง)
พัดลมเพดานจะมีความเร็วรอบการหมุนต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะมาก โดยพัดลมเพดานสมัยใหม่จะเป็นพัดลมไฟฟ้าทั้งหมด และเหมือนกับพัดลมทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความเย็นกับอากาศโดยตรง แต่จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ ทำให้การระเหยของเหงื่อดีขึ้น (ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าการทำในอากาศเย็นลงอย่างที่ทำในเครื่องปรับอากาศมาก)
พัดลมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

        
พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้น พัดลมติดผนัง ซึ่งทั้งหมดมีหลักของการทำงานคล้ายคลึงกัน
 
     
 

 
     
 

 
 
     
 
 
     
 
ส่วนประกอบและการทำงาน
    
- ส่วนประกอบหลักของพัดลม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ใบพัดและตะแกรง คลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตซ์ควบคุมการทำงาน และกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือ หมุนส่ายไปมา
     - พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือ เร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุ่น ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดลมพัดออกมา
ารใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
 
            พัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะ มีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้นในการเลือกใช้ จึงมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
                 - พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือ ไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ
                 - อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
                 - ควรเลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
                 - เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพ เร็วเกินไป
                 - ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับชื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความ ร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป



----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----
 

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รถยนตร์





รถยนต์ (อังกฤษ: car , automobile) หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ




ประวัติ

ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ยานพาหนะของผู้คนในสมัยนั้น ยังคงอาศัยแรงของสัตว์ เช่น รถม้า หลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้แรงดันไอน้ำมาขับเคลื่อนเป็นยานพาหนะแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงของสัตว์
ในปี ค.ศ. 1886 คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพลิงเผาไหม้คันแรกของโลกได้สำเร็จ (Benz Patent Motorwagen) โดยใช้โครงสร้างแบบลูกสูบเหมือนของเครื่องจักรไอน้ำ เพียงแต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ และเพิ่มวาล์วไอดีไอเสีย ในรูปแบบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (ปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน)
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในยุคแรกๆ นั้น ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ต่อมา ปี 1897 รูดอล์ฟ ดีเซล พยายามคิดค้นพลังงานอื่นมาใช้กับเครื่องยนต์ จนสำเร็จเป็นเครื่องยนต์ดีเซล[ต้องการอ้างอิง]
ประเทศไทยเริ่มมีรถยนต์ใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยชาวต่างชาติเป็นคนนำเข้ามาภายในประเทศซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นไทยได้เริ่มมีอุตสาหกรรมรถยนต์โดยใช้ชื่อบริษัทว่า ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์


----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----


กล้องถ่ายรูป






กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นเหมือนกล่องทึบแสง ทำหน้าที่รับแสงในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการสร้างภาพ กลไกและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของกล้องทำงานสัมพันธ์กันในการที่จะควบคุมปริมาณแสงไปยังหน่วยรับภาพอย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งยังควบคุมความคมชัดของภาพ ตลอดจนอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการบันทึกภาพ
 ความหมายของการถ่ายภาพ มี 2 ประเด็น คือ
1. เชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง
2. เชิงศิลปะ หมายถึง การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติ
สรุป : การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ



เลนส์ถ่ายภาพ
  • เลนส์ถ่ายภาพ - คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ในกล้องถ่ายภาพ เลนส์ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุไวแสง
  • ตัวกล้อง มีลักษณะเป็นกล่องทึบ ด้านหน้าสำหรับติดตั้งเลนส์ ด้านหลังมีช่องมอง ด้านบนมีปุ่มกดบันทึกภาพ/ปุ่มกดลั่นชัตเตอร์ ภายในมีหน่วยรับภาพอยู่ส่วนหลัง กล้องประเภทสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) มีกระจกและปริซึมสำหรับสะท้อนแสงจากเลนส์ไปสู่ช่องมองภาพ ภายในยังมีหน่วยวัดแสง ช่องเก็บแบตเตอรี่และแผงวรจรไฟฟ้า หน่วยความจำ นอกจากนี้ด้านนอกของตัวกล้องยังมีอุปกรณ์วัดระยะห่างจากวัตถุ แฟลช ปุ่มปรับต่าง ๆ และช่องเสียบสำหรับใช้งานต่าง ๆ ตัวกล้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทำจากวัสดุที่ต่าง ๆ กันสำหรับกล้องแต่ละรุ่นตั้งแต่ พลาสติกจนถึงโลหะผสมที่มีน้ำหนักเบา
  • เซนเซอร์รูปภาพ (Image Sensor)
  • ไดอะแฟรม เป็นแผ่นโลหะสีดำเล็ก ๆ หลาย ๆ แผ่นประกอบกัน ติดตั้งอยู่ระหว่างชุดของเลนส์ทำหน้าที่ในการ เปิด - ปิด ช่องตรงกลางเรียกว่า รูรับแสง (Aperture) เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้าไปในกล้องได้มากน้อยตามความต้องการ โดยมีปุ่มหรือก้านบังคับติดอยู่ที่กรอบรูปวงแหวนรอบกระบอกเลนส์
  • ชัตเตอร์ (กล้องถ่ายภาพ) ทำหน้าที่เสมือนประตูปิดเปิดรับแสงให้กับหน่วยรับภาพ อยู่ภายในตัวกล้องด้านหน้าของหน่วยรับภาพ ผู้ใช้สามารถปรับตั้งระยะเวลาในการเปิดรับแสงให้กับหน่วยรับภาพ ในสภาวะแสงปกติ เวลาในการเปิดรับภาพเป็นเศษส่วนของวินาที ช่วงเวลาที่มีการเปิดรับแสงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)
  • ช่องมองภาพ เป็นช่องสำหรับมองภาพก่อนทำการบันทึกภาพ กล้องประเภทสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) สามารถมองเห็นภาพในมุมเดียวกับภาพที่จะทำการบันทึกเนื่องจากใช้กระจกสะท้อนแสงจากเลนส์ขึ้นไปปรากฏภาพบนกระจกฝ้าด้านบน แล้วสะท้อนภายในปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) เข้าสู่ช่องมองแสงที่อยู่ด้านหลังของกล้อง กล้องรุ่นใหม่มักมีจอภาพ LCD หรือ LED อยู่ผนังด้านหลังของตัวกล้อง ทำให้มองเห็นภาพที่จะบันทึกได้ถนัดขึ้น
  • แฟลช (อุปกรณ์ถ่ายภาพ)

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

  • เลนส์ - มีหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ เพื่อให้ตกลงบนฟิล์มถ่ายภาพ CCD หรือ CMOS ของกล้องได้
  • ตัวถัง (Body) - ส่วนใหญ่จะทำจากอะลูมิเนียม โลหะผสมแมกนีเซียม หรือ พลาสติกอัดแข็ง เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน โดยรูปร่างจะแบ่งออกตามประเภทของกล้อง
  • Image sensor - หรือตัวรับภาพซึ่งมีทั้งแบบฟิล์ม และแบบ Digital โดยแบบ Digital นั้นจะมีอุปกรณ์เช่น CCD, CMOS เป็นตัวรับภาพ ซึ่งทั้งฟิล์มและตัวรับภาพดิจิตอลนั้น จะทำหน้าที่ในการรับแสง โดยฟิล์มจะไปเก็บในรูปแบบปฏิกิริยาเคมีบนเนื้อฟิล์ม ส่วนแบบดิจิตอลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป CCD และ CMOS ซึ่งทำจาก Silicon ด้วยกันทั้งคู่ ต้นทุนการผลิต CCD จะสูงกว่า แต่ CCD จะมี Noise มากกว่ากว่า CMOS อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นกับความสามารถของโปรแกรมของกล้องนั้นๆอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตกล้อง ส่วนใหญ่มักจะใช้ CCD จาก Sony ซึ่งมีปัญหาใน CCD บางรุ่น
  • แบตเตอรี่ - แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเทียม ไอร์ออน) และ NiMH (นิกเกิล เมธัลไฮดราย) ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเด่นคนละแบบ ซึ่งกล้องขนาดเล็กมักใช้ Li-ion เนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และเก็บประจุได้มาก ส่วน NiMH มักจะพบในกล้องระดับกลาง และ D-SLR จนถึง SLR เนื่องจาก เก็บประจุไฟได้มาก และสามารถหาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย (สามารถใช้ แบตเตอรี่ชนิด AA ทดแทนได้)
  • ปุ่มควบคุม - แล้วแต่รุ่นและผู้ผลิต ปุ่มเหล่านี้จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้อง
  • แฟลช - แฟลชจะเป็นตัวเพิ่มแสงในกรณีที่ภาพมืดเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการสั่นไหวของภาพ แต่การใช้แฟลชจะทำให้ อุณภูมิสีของภาพ เปลี่ยนแปลงไป ในกล้องดิจิตอลคอมแพค จะตั้งค่าแฟลชอัตโนมัติ
----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----

เครื่องปรับอากาศ













ครื่องปรับอากาศ หรือภาษาปากว่า แอร์ (อังกฤษ: Air conditioner, aircon) คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือเขตขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า เครื่องทำความร้อน) เครื่องปรับอากาศมีทั้งแบบตั้งพื้น ติดผนัง และแขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการการถ่ายเทความร้อน กล่าวคือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอก อากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น และเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตร) เย็นลง 1 องศาฟาเรนไฮต์ (5/9 องศาเซลเซียส)
ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน ถ้าแบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยุนิท (ตัวพัดลมที่เป่าความร้อนออกไปภายนอก) จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.แบบชิ้นเดียว - หรือที่พวกเราคุ้นเคยในในชื่อ แอร์ฝังหน้าต่าง/ผนัง ตัวแฟนคอยล์ ยุนิตจะอยู่เป็นชิ้นเดียวกับตัวคอนเดนซิ่ง ยุนิต (ส่วนที่เป่าลมเย็นให้กับภายในห้อง) ข้อดีของเครื่องแบบนี้คือขนาดกะทัดรัด ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยาแอร์ แต่ข้อเสียคือ เสียงจะค่อนข้างดัง(โดยเฉพาะเมื่อมันเก่ามากๆ) แรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อตัวเครื่องและโครงสร้างของจุดที่ติดตั้งก็มีสูง และถ้าเครื่องมีขนาดขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณเพราะบริเวณช่องหน้าต่าง/ผนังไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้ ต้องทำโครงสร้างมาช่วยค้ำจุนเพิ่ม
2.แบบแยกชิ้น - เป็นแบบที่เราเห็นกันได้ทั่วไปและนิยมมากที่สุด โดยตัวแฟนคอยล์ ยุนิตนั้นจะแยกไปติดตั้งภายนอกอาคาร ทำให่มีข้อดีคือเงียบ และมีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างมาก ข้อเสียคือการติดตั้งที่จะค่อนข้างเสียเวลาเพราะต้องมีการเดินท่อน้ำยาแอร์
น้ำยาแอร์ปัจจุบันที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศภายทั่วไปรวมถึงตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศแบบส่วนกลางที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ในปัจจุบันมีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-22 ส่วนน้ำยาแอร์สำหรับใช้ในรถยนต์มีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-134A

ค่า EER

ค่า EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Rating เป็นค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยจะหาได้จาก ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู ต่อ ชั่วโมง) หารด้วย กำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ (วัตต์) เช่น เครื่องปรับอากาศ ขนาด 11,700 บีทียูต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะมีค่า EER = 11,700 หาร 1,000 = 11.7 เป็นต้น
หากเครื่องปรับอากาศมีค่า EER สูง จะมีความสามารถสูงขึ้น สามารถทำงานดูดความร้อนได้ในอัตรา (BTU/hr) ที่สูงขึ้น โดยใช้พลังงาน (วัตต์)เท่าเดิม หรือดูดความร้อนในอัตราเท่าเดิมโดยใช้พลังงานน้อยลง นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่า EER สูง ยิ่งประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง
ค่า EER นี้ ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินฉลากพลังงานด้วย โดยที่เครื่องปรับอากาศที่จะได้ฉลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ในประเทศไทย จะต้องมีค่า EER = 11.6 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 27,296 บีทียู/ชั่วโมง และ 11.0 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาด มากกว่า 27,296 บีทียู/ชั่วโมง


----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----

เครื่องบิน





เครื่องบิน หรือ (อังกฤษ: airplane or aeroplane) คือ พาหนะสำหรับเดินทางที่สามารถบินไปในอากาศได้ (อากาศยาน) โดยเครื่องบินเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศ เครื่องบินสามารถบินได้โดยอาศัยแรงยกจากปีกตามหลักการของอากาศพลศาสตร์และถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยแรงผลักจากเครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัด (อากาศยานที่เบากว่าอากาศถูกเรียกว่า "เรือเหาะ") เครื่องบินมีหลายขนาด, หลายรูปทรง, และปีกหลายแบบ ลักษณะการใช้งานจะเป็นการใช้เพื่อการพักผ่อน, การขนส่งสินค้าและการโดยสาร, ใช้ในการเกษตร, การทหาร, และการวิจัย. เครื่องบินมีทั้งแบบที่ใช้เครื่องยนต์ และไม่ใช้เครื่องยนต์ เครื่องบินแบบที่ไม่ใช้เครื่องยนต์จะมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เครื่องร่อน
เครื่องบินที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่เป็นอากาศยานปีกคงที่ (อังกฤษ: fixed-wing aircraft) ขับโดยนักบินที่อยู่ในเครื่อง บางชนิดถูกออกแบบให้ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือการควบคุมระยะไกลโดยไม่ต้องมีนักบินภายในเครื่อง. ส่วนอากาศยานปีกหมุน/เฮลิคอปเตอร์ หรือที่บางแห่งเรียกว่า เครื่องบินปีกหมุน เป็นอากาศยานอีกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนรองลงไป

ทฤษฎีการบินของเครื่องบิน

มีหลายทฤษฎีที่ใช้อธิบายการบินของเครื่องบิน (แต่จนถึงวันนี้ยังมีการโต้แย้งว่าคำอธิบายต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์)
  • ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของอากาศ (กฎของแบร์นูลลี) ที่ว่า อากาศที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจะมีแรงกดดันต่ำกว่า โดยออกแบบให้ปีกของเครื่องบินมีความโค้งทางด้านบนและเรียบแบนทางด้านล่าง อากาศที่เคลื่อนที่ผ่านใต้ปีกเครื่องบินจะมีความเร็วต่ำกว่าทางด้านบนของปีกเครื่องบิน ความดันใต้ปีกเครื่องบินจึงสูงกว่าความดันเหนือปีกเครื่องบิน ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ทำให้เครื่องบินบินได้
  • ทฤษฎีของนิวตันกับแรงยก ที่ว่าแรงยกที่ทำให้เครื่องบินบินได้เกิดจากปีกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วทำ มุมปะทะ (อังกฤษ: angle of attack) ที่เหมาะสมกับอากาศ และแรงยกนี้เท่ากับโมเมนต์(moment) ที่เปลี่ยนไปของอากาศ ที่ถูกปีกของเครื่องบินบังคับให้ไหลลงข้างล่าง (พฤติกรรมที่อากาศถูกบังคับให้ไหลลงข้างล่างนี้เรียกว่า "การล้างลง" อังกฤษ: downwash)

เที่ยวบินที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังในช่วงต้น

การบินของพี่น้องตระกูลไรท์ในปี 1903 เป็นที่ยอมรับโดย Fédération Aéronautique Internationale (FAI) เรื่องการตั้งค่าและตัวเก็บบันทึกข้อมูลมาตรฐานสำหรับการบินในอากาศ, ว่าเป็น "การบินขับเคลื่อนด้วยกำลังด้วยยานที่หนักกว่าอากาศอย่างต่อเนื่องและควบคุมได้เป็นครั้งแรก" เมื่อปี 1905, Wright Flyer III สามารถทำการบินที่อยู่ในการควบคุมได้อย่างเต็มที่และมั่นคงสำหรับช่วงเวลาที่ต่อเนื่อง. พี่น้องตระกูลไรท์ยกเครดิตให้กับ Otto Lilienthal ว่าเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการตัดสินใจของพวกเขาที่จะค้นหาวิธีทำการบินที่มีมนุษย์ควบคุม.
ในปี 1906, Alberto Santos Dumont ทำสิ่งที่อ้างว่าเป็นการบินด้วยเครื่องบินเป็นครั้งแรกที่ไม่มีใครช่วยเหลือโดยใช้เครื่องขว้างหินโบราณ(อังกฤษ: catapult) และได้สร้างสถิติโลกครั้งแรกที่ได้รับการยอมรับโดย Aero-club de France โดยทำการบินระยะทาง 220 เมตร (720 ฟุต) ในเวลาน้อยกว่า 22 วินาทีการบินครั้งนี้ก็ยังได้รับการรับรองโดย FAI อีกด้วย
การออกแบบยานอากาศในตอนต้นที่ได้นำมารวมกันของรูปแบบหัวลากปีกชั้นเดียว(อังกฤษ: monoplane tractor configuration)ที่ทันสมัย​​คือการออกแบบของ Bleriot VIII ในปี 1908. มันมีพื้นผิวหางที่เคลื่อนที่ได้เพื่อควบคุมทั้งการหันเหและระยะห่าง, รูปแบบหนึ่งของการควบคุมการม้วนที่จัดโดยการบิดของปีกหรือโดยใช้ปีกเสริมและถูกควบคุมโดยนักบินที่มีจอยสติ๊กและแท่งหางเสือ. มันเป็นบรรพบุรุษที่สำคัญอันหนึ่งของเครื่อง Bleriot XI รุ่นต่อมาที่เป็นยานอากาศที่บินข้ามช่องแคบอังกฤษในช่วงฤดูร้อนปี 1909
หลังจากที่ทำงานไปมากยานอากาศ Vlaicu nr. 1 ก็สร้างเสร็จในปี 1909, และได้รับการทดสอบการบินเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1910. จากการบินครั้งแรก เครื่องบินไม่มีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงใดๆ. เครื่องบินที่ถูกสร้างขึ้นจากอะลูมิเนียมชิ้นเดียวมีความยาว 10 เมตรซึ่งใช้รองรับเครื่องบินทั้งลำ, ทำให้มันง่ายมากที่จะบิน. เครื่องบินสิบเครื่องถูกสร้างขึ้นมาสำหรับกองทัพอากาศโรมาเนีย, ทำให้มันเป็นกองทัพอากาศลำดับที่สองที่เคยมีมาในโลก.
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถูกใช้เป็นสนามทดสอบสำหรับการใช้เครื่องบินเป็นอาวุธ. เครื่องบินได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพวกเขาที่เป็นนั่งร้านเพื่อการสังเกตเคลื่อนที่, จากนั้นมันได้รับการพิสูจน์ว่าตัวมันเองเป็นเครื่องจักรของสงครามที่มีความสามารถในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายให้กับศัตรู. ชัยชนะทางอากาศที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยรู้จักกันที่มีการใช้เครื่องบินรบติดอาวุธปืนทำงานแบบซิงโครไนซ์ได้เกิดขึ้นในปี 1915, โดยเรืออากาศโทเยอรมัน Luftstreitkräfte Leutnant เคิร์ต Wintgens. เครื่องบินขับไล่เอซปรากฏตัวขึ้น; ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (โดยจำนวนของชัยชนะการต่อสู้ทางอากาศ) เป็นของ Manfred von Richthofen.
หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เทคโนโลยีอากาศยานยังคงพัฒนาต่อไป. Alcock and Brown บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไม่หยุดเป็นครั้งแรกในปี 1919. เที่ยวบินพาณิชย์นานาชาติครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในปี 1919
เครื่องบินมีการแสดงตนอยู่ในการต่อสู้ที่สำคัญทุกครั้งของสงครามโลกครั้งที่สอง. พวกมันเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์การทหารในช่วงเวลานั้น, เช่น'การรบสายฟ้าแลบของเยอรมัน'หรือการรบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินระหว่างอเมริกาและญี่ปุ่นในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก.

การพัฒนาของเครื่องบินเจ็ท

เครื่องบินเจ็ทที่ทำงานได้เครื่องแรกคือ Heinkel He 178 ของเยอรมัน, ซึ่งได้รับการทดสอบในปี 1939. ในปี 1943, Messerschmitt Me 262, เครื่องบินรบเจ็ทที่ทำงานได้เครื่องแรกได้รับการบรรจุเพื่อให้บริการในกองทัพเยอรมัน. ในเดือนตุลาคมปี 1947, Bell X-1 เป็นเครื่องบินลำแรกที่บินได้เร็วกว่าเสียง
สายการบินเจ็ทสายแรก, de Havilland Comet ได้รับการแนะนำในปี 1952. Boeing 707, เป็นเครื่องเจ็ทเชิงพาณิชย์เตรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง, ให้บริการเชิงพาณิชย์มานานกว่า 50 ปี, จากปี 1958 ถึง 2010. Boeing 747 เป็นเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 1970 จนกระทั่งมันถูกแซงหน้าโดย Airbus A380 ในปี 2005


----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----