วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พัดลม






พัดลมเพดาน (อังกฤษ: ceiling fan) คือพัดลมชนิดที่ติดตั้งแขวนในแนวดิ่งลงมาจากฝ้าเพดาน มีลักษณะเฉพาะที่จะมีใบพัดแบนยาวขนาดใหญ่ติดตั้งเป็นรูปแฉก ยึดกับแกนหมุนที่อยู่ตรงกลาง (ในบางแบบ แกนหมุนนั้นคือตัวมอเตอร์เอง)
พัดลมเพดานจะมีความเร็วรอบการหมุนต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะมาก โดยพัดลมเพดานสมัยใหม่จะเป็นพัดลมไฟฟ้าทั้งหมด และเหมือนกับพัดลมทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความเย็นกับอากาศโดยตรง แต่จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ ทำให้การระเหยของเหงื่อดีขึ้น (ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าการทำในอากาศเย็นลงอย่างที่ทำในเครื่องปรับอากาศมาก)
พัดลมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

        
พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้น พัดลมติดผนัง ซึ่งทั้งหมดมีหลักของการทำงานคล้ายคลึงกัน
 
     
 

 
     
 

 
 
     
 
 
     
 
ส่วนประกอบและการทำงาน
    
- ส่วนประกอบหลักของพัดลม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ใบพัดและตะแกรง คลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตซ์ควบคุมการทำงาน และกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือ หมุนส่ายไปมา
     - พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือ เร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุ่น ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดลมพัดออกมา
ารใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
 
            พัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะ มีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้นในการเลือกใช้ จึงมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
                 - พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือ ไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ
                 - อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
                 - ควรเลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
                 - เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพ เร็วเกินไป
                 - ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับชื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความ ร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป



----ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย----
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น